การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
- ถนนสายสระแก้ว - ปางสีดา นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีสายย่อย ๆในพื้นที่อีกหลายสาย
การโทรคมนาคม
- โทรศัพท์สาธารณะ 30 แห่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2) 1 แห่ง
การไฟฟ้า
- จำนวน 15 หมู่บ้าน ประชากรที่มีไฟฟ้าใช้ ประมาณ 95 % (ยังไม่ทั่วถึง)
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ฝาย 2 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 207 แห่ง
- บ่อบาดาล 55 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 11 แห่ง
- คลอง/หนอง /บึงธรรมชาติ 21 แห่ง
- อ่างเก็บน้ำ (อ่างท่ากะบาก) 1 แห่ง
- คลองชลประทาน (คลองท่ากะบาก) 1 แห่ง
- คลองขุด 1 แห่ง
ข้อมูลอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแยกมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1 แห่ง คืออุทยาน-แห่งชาติปางสีดา มีเนื้อที่ 524,062.50 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ปัจจุบันเหลือป่าไม้คงสภาพสมบูรณ์
- ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี จำแนกประเภทที่ดินเป็นป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดังนี้.-
1. ป่าท่าแยก ท้องที่อำเภอเมืองสระแก้ว ประกาศตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 114 พ.ศ. 2528 เนื้อที่ตามกฎกระทรวงรวม 37,031 ไร่ เนื้อที่ตามผลการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ 36,475 ไร่ มอบให้ สปก.จำนวน 34,025 ไร่ เหลือพื้นที่ป่าต้องรับผิดชอบซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้องอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เนื้อที่ 2,450 ไร่
2. อุทยานแห่งชาติปางสีดา ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภอนาดี ซึ่งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่าในอุทยาน ฯ มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า ยังคงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธารน้ำมากมาย อาทิ ห้วยโขมง ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ฯลฯ ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางประกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
อุทยานแห่งชาติปางสีดา ที่ทำการอุทยาน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแยก อำเภอ-เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร ใน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภอนาดี ซึ่งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี สภาพป่าในเขตอุทยานฯ มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า ยังคงความสมบูรณืของพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธารน้ำมากมาย อาทิ ห้วยโขมง ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ฯลฯ ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำบางประกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี อุทยานแห่งชาติปางสีดามีน้ำตกที่มีหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ในฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝนจะมีความสวยงามมาก สายน้ำมีความรุนแรง ละอองน้ำฟุ้งกระจายทั่วบริเวณโดยรอบ นอกจากนั้นภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดายังมีการจัดให้มีสถานที่พักค้างแรมสำหรับนักท่องเที่ยวและการเข้าค่ายต่าง ๆ ของผู้ที่สนใจด้วย
น้ำตกผาตะเคียน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติปางสีดา ประมาณ 3 กิโลเมตร โดยการเดินทางตลอดเส้นทางขึ้น
สู่น้ำตกร่มรื่นด้วยแมกไม้หนาทึบ เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายอยู่ในสายเดียวกับน้ำตกปางสีดาตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร
ใน หน้าน้ำ สายน้ำจะมีความรุนแรงดังก้อง ละอองน้ำฟุ้งกระจายทั่วบริเวณ
น้ำตกท่ากะบาก อยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำท่ากะบากตัวน้ำตกมี 7 ชั้น แต่ละชั้นห่างประมาณ 400 – 500 เมตร เบื้องล่างของแต่ละชั้นเป็นอ่างเล่นน้ำได้
กลุ่มน้ำตกแควมะค่า เป็นสถานที่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติปางสีดา ถึงหลักกิโลเมตรที่ 40 แล้วเดินทางเท้าประมาณ 6 กิโลเมตร น้ำตกทิ้งตัวจากหน้าผาสูง 70 เมตร และยังมี น้ำตกอีก 4 แห่ง คือ น้ำตกไทรน้อย น้ำตกลานหินใหญ่ น้ำตกสวนมั่น สวนทอง น้ำตกม่านธาราในบริเวณใกล้เคียง
5.3 มวลชนจัดตั้ง
– ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น 300 คน
– ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 150 คน
– อพปร. รุ่น 4 100 คน
- อปพร. รุ่น 5 76 คน
|